โค้ดตัวอักษรวิ่ง ยินดีต้อนรับสู่บล็อกวิชาเคมี ของ"นางสาววรรณภา บุญรอด"

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โมล

โมล

            โมล (สัญลักษณ์: mol) เป็นหน่วยฐานสำหรับวัดปริมาณสารในหน่วยเอสไอ เป็นปริมาณที่ไม่มีมิติ หนึ่งโมลคือปริมาณของสารที่มีหน่วยย่อยเท่ากับจำนวนอะตอมของคาร์บอน-12 ที่มีมวล 12 กรัมอ่านเพิ่มเติม


วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

โจทย์เคมีพร้อมวิธีทำม.4

จงคำนวณหาจำนวนโมลของสารต่อไปนี้

ก. ฮีเลียม (He) 1.024*10^22 อะตอม

วิธีที่ 1

     สาร 6.02*10^23 อะตอม         จะมี 1โมล
ถ้า ฮีเลียม 1.024*10^22 อะตอม จะมี  = 1*1.024*10^22/6.02*10^23
                                                            = 0.17009967*10^(-1)
                                                            = 0.17*10^(-1) โมล = 0.017 โมล


ดังนั้น ฮีเลียม 1.024*10^22 อะตอม จะมีโมลประมาณ 0.017 โมล


วิธีที่ 2

n คือ จำนวนโมล
N คือ จำนวนอนุภาค


n = N/6.02*10^23

n = 1.024*10^22 /6.02*10^23
n = 0.17*10^(-1) โมล = 0.017 โมล

ดังนั้น ฮีเลียม 1.024*10^22 อะตอม จะมีโมลประมาณ 0.017 โมล


ข. แก๊สแอมโมเนีย 3.01*10^25 โมเลกุล

n คือ จำนวนโมล
N คือ จำนวนอนุภาค


n = N/6.02*10^23
n = 3.01*10^25 /6.02*10^23


n = 0.5*10^2 โมล = 50 โมล


ดังนั้น แก๊สแอมโมเนีย 3.01*10^25 โมเลกุล จะมีโมล เท่ากับ 50 โมล


ค. เหล็ก (Fe) 3.612*10^20 อะตอม

n คือ จำนวนโมล
N คือ จำนวนอนุภาค


n = N/6.02*10^23
n = 3.612*10^20/6.02*10^23
n = 0.6*10^(-3) โมล = 6*10^(-4) โมล


ดังนั้น เหล็ก (Fe) 3.612*10^20 อะตอม จะมีโมล เท่ากับ 6*10^(-4) โมล